กำเนิดช็อกโกแลต






ชื่อไทย : โกโก้ ชื่อสามัญ : Cocoa, Cacao, Chocolate Nut Tree
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Theobroma cacao L. 

ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE 

แหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์ : อเมริกาใต้ และอเมริกากลาง


           โกโก้เป็นไม้ต้นพื้นเมืองของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ออกผลรูปทรงคล้ายมะละกอตามลำต้นหรือกิ่งแก่ ส่วนของโกโก้ที่นำมาใช้ประโยชน์ คือ ใบเลี้ยงภายในเมล็ด ใบเลี้ยงของโกโก้ใช้ทำช็อกโกแล็ต เพราะมีไขมันสูง และมีสารประกอบหลายตัวที่ทำให้เกิดกลิ่นหอมเฉพาะตัวเมื่อผ่านกรรมวิธี ผลิตภัณฑ์อีกประเภทหนึ่งซึ่งได้จากการสกัดใบเลี้ยงโกโก้ที่คั่วแล้วด้วยตัวทำละลาย เรียกว่าโกโก้สกัด (cocoa extract) ใช้ผสมในเครื่องดื่มผงรสช็อกโกแล็ต เช่น โอวัลติน และไมโล ขนมอบ ไอศกรีม ลูกกวาดและทอฟฟี่ เป็นต้น สำหรับเปลือกเมล็ดที่กระเทาะแยกออกจากใบเลี้ยง อาจนำไปบีบเอาเนยโกโก้ (cocoa butter) ใช้เป็นส่วนผสม ในครีมและโลชั่นบำรุงผิว หรือสกัดธีโอโบรมีน (theobromine) ซึ่งใช้เป็นสารกระตุ้นเช่นเดียวกับคาเฟอีน ที่ได้จากกาแฟ และชา

          มีกำเนิดอยู่ในอเมริกาใต้ (South America) หรืออเมริกากลาง (Central America) โดยบางกลุ่มของผู้ศึกษา เชื่อว่าต้นโกโก้กลุ่มแรกพบที่ต้นน้ำของแม่น้ำอเมซอน (Amazon) ในตอนเหนือของบราซิล (North Brazil) ในขณะที่อีกกลุ่มเชื่อว่าอยู่ที่หุบเขาโอริโนโค (Orinoco) ของประเทศเวเนซูเอลา (Venezuela)






       โกโก้ออกดอกตามลำต้นบริเวณที่เคยเป็นซอกใบของกิ่ง ใบมีขนาดใหญ่และบาง ผลคล้ายมะละกอ ผิวผล คล้ายมะระ เปลือกหนา มีเมล็ดอยู่ภายใน เมล็ดมีเมือกหุ้ม ในแต่ละผลจะมีเมล็ด 30-40 เมล็ด

       โกโก้นิยมปลูกด้วยเมล็ด เมื่อต้นกล้าอายุ 4 เดือน ก็สามารถนำไปปลูกได้ ซึ่งควรเป็นช่วงต้นฤดูฝน พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นพันธุ์ลูกผสมรวมของพันธุ์ Upper Amazon โกโก้จะเริ่มให้ผลเมื่ออายุประมาณ 2 ปี และจะให้ผลดีเมื่ออายุ 5 ปีขึ้นไป





ต้นกำเนิดช็อกโกแลต









ประมาณ 3000 ปีมาแล้วที่คนพื้นเมืองของเผ่ามายา (Maya) ในอเมริกากลาง เป็นคนกลุ่มแรกที่นำเอาเมล็ดกาเกา (cacao bean) หรือเมล็ดโกโก้ มาทำเป็นเครื่องดื่มข้นๆ โดยนำเมล็ดมาคั่วแล้วนำมาบด ละลายน้ำ ผสมกับแป้งข้าวโพดแต่งกลิ่นรสด้วย วานิลา พริก และสมุนไพรอื่นๆ ต่อมาเมล็ดโกโก้จึงแพร่ไปยังเม็กซิโก ชนเผ่าแอซแทค (Aztecs) ของเม็กซิโกก็นิยมดื่มเครื่องดื่มที่ทำมาจากเมล็ดโกโก้ เดิมเรียกว่า "คาคาฮอดทัล" ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ผลิตจากเมล็ดโกโก้ รสค่อนข้างขม แต่เมื่อเติมน้ำตาลแล้วรสชาติจะดี จึงมีการเรียกชื่อใหม่ว่า " ช็อกโกลาตส์ ( xocolatl ) " ซึ่งแปลว่าน้ำที่มีรสขม 

               ปี ค.ศ. 1502 Christopher Columbus เป็นชาวยุโรปคนแรกที่ได้เห็นต้นโกโก้ ปี ค.ศ. 1519 Hernando Cortez (เฮอร์นันโด คอร์เทส) นักสำรวจชาวสเปนที่เข้าไปถึงในกลางแม็กซิโกเพื่อล่าอาณานิคม เล่ากันว่าจักรพรรดิ Montezuma II ( มอนแตสซูม่า ) และชาว Aztecs ( แอซแทค ) คิดว่า คอร์เทส เป็นพระเจ้าจากทะเล จึงต้อนรับด้วยเครื่องดื่มคาคาฮอดทัลหรือช็อกโกลาตส์นี้แก่เขา หลังจากที่ได้ชิมเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดโกโก้ ที่ มอนแตสซูม่า ซึ่งเป็นจักรพรรดิ์องค์สุดท้ายของแอซแทคชอบดื่มเป็นประจำ คอร์เทส ได้จดจำวิธีการที่นำเอาเมล็ดโกโก้มาทำเป็นเครื่องดื่มของชาวแอซเทค เมื่อเขากลับไปยังสเปนได้นำเอาเมล็ดโกโก้ไปปลูกด้วย ต่อมาคนสเปน ได้นำเมล็ดโกโก้มาทำเป็นเครื่องดื่ม เติมน้ำตาล วานิลลา และอบเชยลงไปทำให้มีกลิ่นและรสดี เรียกว่า ช็อกโกลาตส์ ต่อมาเครื่องดื่มรสประหลาดก็ได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอื่นๆในยุโรป และเมื่อไปถึงอังกฤษชื่อของช็อกโกลาตส์ก็เพี้ยนไปเป็น ช็อกโกแลต ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน 

              ในปี ค.ศ. 1765 เป็นต้นมา เกิดโรงงานผลิตช็อกโกแลตจากเมล็ดโกโก้ขึ้นหลายแห่ง ทั้งในยุโรปและอเมริกา มีการผลิตนมช็อกโกแลต ช็อกโกแลตแท่ง ช็อกโกแลตเคลือบ ตลอดจนการประดิดประดอยช็อกโกแลตรูปต่างๆ ประเทศเดนมาร์กถือว่าแซนด์วิชช็อกโกแลตเป็นอาหารว่าง นอกจากนั้นยังมีผู้ผลิตบุหรี่รสช็อกโกแลตแล้วด้วย

              ปี ค.ศ. 1828 Conrad Van Houten นักเคมีชาวเนเทอร์แลนด์ พบวิธีสกัดน้ำมันหรือเนยโกโก้ (cacao butter) จากเมล็ดโกโก้ ปี ค.ศ. 1847 Fry & sons ชาวอังกฤษ ได้ผสมน้ำตาล ผงโกโก้และเนยโกโก้เข้าด้วยกัน 

               ปี 1876 Danial Peter ชาวสวิส ได้พัฒนาทำช็อกโกแลตนม ( milk chocolate ) โดยผสมนมลงไปในช็อกโกแลตเพื่อให้รสดีขึ้น ต่อมามีการปรุงแต่ง กลิ่น รส มากมาย เพื่อให้ถูกปากผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้มีช็อกโกแลต หลากหลายรูปแบบในปัจจุบัน 









แหล่งที่มา: https://kamjarunee.wordpress.com/
                  http://sayfon-wbv.blogspot.com/p/blog-page.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น